Sunday, February 1, 2015

ครีมกันแดดแบบ Physical vs ครีมกันแดดแบบ Chemical แบบไหนดีกว่ากัน

สารกรองแสงแดดนี้คืออะไร?

สารกรองแสงก็คือส่วนผสมของครีมกันแดดที่ออกฤทธิ์เป็นตัวป้องกันผิวพรรณจากแสงแดดนั่นเอง ซึ่งก็มีครีมกันแดดบางยี่ห้อ ใช้ส่วนประกอบของทั้ง physical และ chemical ในครีมกันแดดตัวเดียวกัน อยู่ที่ว่าจะใช้แบบไหนมากหรือน้อยกว่ากันและแบ่งการใส่ในอัตราเท่าไร ASEAN Sun Series จะอธิบายข้อแตกต่างระหว่างครีมกันแดดประเภท physical และ chemical ให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในตารางข้างล่าง


ครีมกันแดดแบบ Physical vs ครีมกันแดดแบบ Chemical
ครีมกันแดด Physicalครีมกันแดด Chemical
ความแตกต่างของการทำงานครีมกันแดดประเภท physical ป้องกันผิวของคุณโดยการสะท้อนและบล็อครังสียูวีจากแสงแดดครีมกันแดดประเภท chemical จะทำการดูดซึมรังสียูวีจากแสงแดดมากักเก็บไว้ ไม่ยอมให้ผ่านไปทำร้ายผิวหนัง ซึ่งในบางผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารกรองแสงแบบ chemical ใช้การกระจายรังสียูวีออกไปแล้วจึงกักเก็บ แต่ส่วนใหญ่ใช้แบบดูดซึมธรรมดา เพราะผลลัพธ์การป้องกันนั้นไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก
ส่วนประกอบสารกรองแสง (สารออกฤทธ์ป้องกันแดดในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด)Titanium dioxide (TiO2), Zinc oxide (ZnO)
  • Octylcrylene
  • Avobenzone
  • Octinoxate
  • Octisalate
  • Oxybenzone
  • Homosalate
  • Helioplex
  • 4-MBC
  • Mexoryl SX and XL
  • Tinosorb S and M
  • Uvinul T 150
  • Uvinul A Plus
ความคงทนต่อแสงแดด (สารกรองแสงบางตัวเมื่อโดนแสงแดดจะลดประสิทธิภาพลง)มีความคงทนต่อแสงแดดสูงเมื่อเวลาผ่านไปส่วนมากมีความคงทนต่อแสงแดดในระดับดี-สูง แต่มีสารกรองแสงบางตัวเช่น Avobenzone ที่ได้ถูกวิจัยว่ามีความคงทนต่อแสงแดดต่ำ ต้องเอาไปทำงานผสมกับสารตัวอื่นถึงจะได้ผลที่ดีขึ้น
การระคายเคืองต่อผิวหนังZinc oxide ปลอดภัยสูงมากและถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในผ้าอ้อมเด็กTitanium dioxide นั้นหากผู้ใช้มีอาการแพ้ครีมบำรุงหรืออะไรก็แล้วแต่ที่มาจากธรรมชาติ (พบได้น้อยมาก) ผู้ใช้ก็อาจจะมีโอกาสจะเกิดการระคายเคืองจากครีมกันแดดที่มีสารกรองแสงตัว นี้เป็นส่วนผสมสารกรองแสงประเภท chemical โดยปกติจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย ถ้าเข้าตาผู้ใช้ สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและแสบได้ ในผู้ใช้บางคนที่มีการแพ้สารเคมีบางชนิด อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงได้
ความแตกต่างในการป้องกันZinc oxide ป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB, ส่วน Titanium dioxide สามารถกันได้ทั้ง UVA และ UVB เช่นกัน แต่สำหรับ UVA หากเวลาผ่านไปอาจจะมีรังสีบางส่วนหลุดรอดมาทำร้ายผิวได้ และเมื่อทาแล้วสามารถออกแดดได้เลยโดยไม่ต้องรอครีมกันแดดประเภท chemical นั้น สารกรองแสงบางตัวปกป้องได้ดี แต่บางตัวก็ด้อยกว่าขึ้นอยู่กับการใช้สารตัวไหนเป็นส่วนประกอบในครีมกันแดด ตัวอย่างเช่น Avebenzone ปกป้องได้ดีทั้ง UVA และ UVB แต่ต้องแลกมาด้วยความไม่ทนทานต่อแสงแดด (ออกแดดแป็ปเดียวความสามารถในการป้องกันลดลง) และครีมกันแดดประเภท chemical นั้น ต้องทาทิ้งไว้ 20 นาทีก่อนออกแดด
ความแตกต่างของเนื้อครีมกันแดดมีความหนาและสีไม่โปร่งแสงนัก เมื่อทาแล้วอาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกง่ายๆว่า “วอก” ได้ แต่ส่วนใหญ่ครีมกันแดดสมัยใหม่มักจะใช้สีที่ใกล้เคียงกับผิวมนุษย์ในภูมิภาคนั้นๆเข้าไปเผื่อไม่ให้เกิดอาการผิววอก อย่างเช่น สีเบจสำหรับคนเอเชีย หรือสีขาวสำหรับคนยุโรป เนื้อครีมล้างออกง่ายไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เนื้อครีมเหลวคล้ายน้ำ แต่ขึ้นอยู่กับสูตรส่วนผสมของแต่ละยี่ห้อ บางตัวอาจจะเหนอะหนะหรือทำให้เกิดอาการวอกได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสูตรส่วนผสม
ความแต่งต่างของครีมกันแดดด้านความปลอดภัยได้รับการรับรองจาก FDA มีความปลอดภัย 100% ไม่ก่อให้เกิด free radical (อนุมูลอิสระ ตัวการทำให้แก่ก่อนวัยและทำลายเซลล์ผิวของมนุษย์)โดยทั่วไปจะปลอดภัย แต่สารกรองแสงบางตัวก่อให้เกิด อาการระคายเคือง ทำร้ายเซลล์ผิวและก่อให้เกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการเร่งอายุของผิว ซึ่งโดยปกติคนเอเชียใช้กันแดดเพื่อป้องกันการหมองคล้ำ กันแดดทำร้ายเซลล์ผิว หรือป้องกันการแก่ก่อนวัย การเลือกใช้ครีมกันแดดแบบ chemical อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ต้องการก็ได้

นี่เป็นข้อมูลที่เราไปเจอมาจากบทความเว็บไซต์นึง น่าจะมีประโยชน์ให้เพื่อนๆประกอบการตัดสินใจได้ว่าควรจะเลือกครีมกันแดดแบบไหนมาใช้ดี


No comments:

Post a Comment